คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ

หลักสูตรคณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ

ประกอบด้วย 9 หลักสูตร ดังต่อไปนี้

1. หลักสูตรบัญชีบัณฑิต

ชื่อปริญญา : บัญชีบัณฑิต
อักษรย่อปริญญา (ภาษาไทย): บช.บ.
อักษรย่อปริญญา (English) : B.Acc.

ผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการประยุกต์เทคโนโลยีเพื่อการจัดทำบัญชีและรายงานทางการเงินได้ตามมาตรฐานทางวิชาชีพ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สามารถออกแบบระบบสารสนเทศทางการบัญชีได้ ออกแบบและนำเสนอสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ โดยใช้ข้อมูลทางการบัญชีเป็นฐาน มีทักษะการจัดการ การเป็นผู้นำ สามารถทำงานเป็นทีม ประสานความร่วมมือ และสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ปรับตัวได้ตามสถานการณ์ และแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่อง และดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แสดงออกถึงความมีคุณธรรม จริยธรรม ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม มีจิตสาธารณะ

อาชีพและความก้าวหน้าในวิชาชีพ

บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบวิชาชีพบัญชี ได้ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 และพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 และประกอบวิชาชีพอื่นในหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประกอบวิชาชีพอิสระ ในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ได้แก่ ด้านการทำบัญชี ด้านการสอบบัญชี ด้านบัญชีบริหาร ด้านการภาษีอากร ด้านระบบสารสนเทศทางการบัญชี ด้านการตรวจสอบภายใน ด้านการศึกษาและเทคโนโลยีทางการบัญชี ด้านการให้คำปรึกษาทางการเงินและบัญชี และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

2. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล

ชื่อปริญญา : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล)
อักษรย่อปริญญา (ภาษาไทย): บธ.บ. (การจัดการสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล)
อักษรย่อปริญญา (English) : B.B.A. (Information and Digital Technology Management)

ผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถทางวิชาชีพเฉพาะทางเทคโนโลยีดิจิทัล สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในองค์กรธุรกิจได้ มีความเข้าใจกระบวนการทางธุรกิจ สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงานได้ เป็นบัณฑิตที่มีคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงาม มีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ โดยถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง 

อาชีพและความก้าวหน้าในวิชาชีพ

บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายทั้งในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ได้ดังนี้ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ นักออกแบบและดูแลเว็บไซต์ นักขายระบบเทคโนโลยีดิจิทัล นักบริหารจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล ผู้ดูแลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล นักวิเคราะห์ธุรกิจ และผู้ประกอบการใหม่ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล

3. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจดิจิทัล

ชื่อปริญญา : บริหารธุรกิจบัณฑิต (ธุรกิจดิจิทัล)
อักษรย่อปริญญา (ภาษาไทย): บธ.บ. (ธุรกิจดิจิทัล)
อักษรย่อปริญญา (English) : B.B.A. (Digital Business)

ผลิตบัณฑิตที่สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และสารสนเทศเพื่อพัฒนาภาคธุรกิจให้อยู่ในรูปแบบธุรกิจดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม ทั้งยังสามารถบริหารจัดการ และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำไปใช้ต่อยอดเป็นฐานความรู้ทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีแนวคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ในการเป็นผู้ประกอบการใหม่ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และสารสนเทศ ปลูกฝังให้เป็นบัณฑิตที่มีจิตสำนึกในการใฝ่เรียนรู้ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต  สามารถใช้ภาษาต่างประเทศในการปฏิบัติงานได้ และสามารถปรับตัวได้ในสังคมที่มีความหลากหลาย แตกต่างกันในหลายมิติ เป็นบัณฑิตที่มีคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงาม มีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ

อาชีพและความก้าวหน้าในวิชาชีพ

บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาสามารถปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร โดยมีตำแหน่งงานต่างๆ ดังนี้ นักออกแบบพัฒนา และดูแลเว็บไซต์ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พนักงานอีคอมเมิร์ซ (พนักงานผู้ช่วย/พนักงานปฏิบัติการ/หัวหน้างาน/ผู้จัดการ/ผู้อำนวยการฝ่ายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์) นักการตลาดดิจิทัล (นักการตลาด/ผู้จัดการแผนกการตลาดดิจิทัล/ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์การตลาด)  นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ นักวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจ  นักบริหารกลยุทธ์ (พนักงานวางแผนกลยุทธ์/ผู้จัดการกลยุทธ์ธุรกิจ/ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนากลยุทธ์) เจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการใหม่ เป็นต้น

4. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว

ชื่อปริญญา : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการการท่องเที่ยว)
อักษรย่อปริญญา (ภาษาไทย): บธ.บ. (การจัดการการท่องเที่ยว)
อักษรย่อปริญญา (English) : B.B.A. (Tourism Management)

ผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรมและจริยธรรม มีจิตบริการ มีทักษะการทำงาน การปรับตัว และการทำงานเป็นทีมที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน ตลอดจนมีความรับผิดชอบต่อสังคมตามจรรยาบรรณวิชาชีพ เป็นบัณฑิตที่มีทักษะความพร้อมในการเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านในยุคดิจิทัล โดยใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์ ภาษาอังกฤษ และการใช้เทคโนโลยีสื่อสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในวิชาชีพการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ มีความรู้ทางวิชาการและทักษะทางวิชาชีพ ความสามารถในปฏิบัติงาน บริหารจัดการ และการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว

อาชีพและความก้าวหน้าในวิชาชีพ

ผู้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพในองค์กรของรัฐและเอกชน โดยมีตำแหน่งงานต่าง ๆ ดังนี้ (1) การทำงานในกลุ่มธุรกิจนำเที่ยว เช่น  มัคคุเทศก์ ผู้นำเที่ยว ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว หรือตัวแทนการท่องเที่ยว พนักงานปฏิบัติการในธุรกิจนำเที่ยว (2) การทำงานในกลุ่มธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้บริหารระดับต้นในอุตสาหกรรมโรงแรม พนักงานต้อนรับในอุตสาหกรรมโรงแรม พนักงานต้อนรับในอุตสาหกรรมการบิน พนักงานในการดำเนินงานการจัดการประชุมและแสดงสินค้า (3)  การทำงานในหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง  เช่น เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว  เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาคเอกชนหรือองค์กรอิสระด้านการท่องเที่ยว อาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรทางวิชาการด้านการท่องเที่ยวและโรงแรม

5. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด

ชื่อปริญญา : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การตลาด)
อักษรย่อปริญญา (ภาษาไทย): บธ.บ. (การตลาด)
อักษรย่อปริญญา (English) : B.B.A. (Marketing)

ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ในศาสตร์ด้านการตลาด มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ปัจจุบัน มีความสามารถในการค้นคว้าวิจัย เพื่อประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคต  บัณฑิตมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ให้ได้มาตรฐานสากล มีทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงทักษะทางด้านการสื่อสาร ตระหนักถึงความสำคัญของเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง  เป็นผู้ใฝ่รู้ รักการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปใช้ในการเป็นผู้โดยนำทักษะเหล่านี้ไปใช้ในการประกอบอาชีพได้ เป็นบัณฑิตที่มีจริยธรรม คุณธรรมในการประกอบวิชาชีพและเป็นพลเมืองดี  อันเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างยั่งยืน

อาชีพและความก้าวหน้าในวิชาชีพ

บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาสามารถปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร ในตำแหน่งงานต่างๆ ดังนี้ (1) นักวางแผนกลยุทธ์การตลาด ได้แก่ ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ ผู้จัดการแบรนด์ เจ้าหน้าที่การตลาด เจ้าหน้าที่การขาย เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ราคา เจ้าหน้าที่บริหารช่องทางการจัดจำหน่าย (2) นักวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด ได้แก่ Marketing Analyst (3) นักการตลาดดิจิทัล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดด้วยโซเชียลมีเดีย (4) นักวางแผนการสื่อสารการตลาด ได้แก่ ผู้จัดการแคมเปญ นักวางแผนสื่อและประชาสัมพันธ์ (5) ผู้ประกอบการอิสระ สตาร์ทอัพ

6. หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเงินประกันภัย และการจัดการความเสี่ยง

ชื่อปริญญา : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การเงิน ประกันภัยและการจัดการความเสี่ยง)
อักษรย่อปริญญา (ภาษาไทย): บธ.บ. (การเงิน ประกันภัยและการจัดการความเสี่ยง)
อักษรย่อปริญญา (English) : B.B.A. (Finance, Insurance and Risk Management)

ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถทั้งทางทฤษฎีด้านการเงิน ประกันภัย การจัดการความเสี่ยง และการบริหารจัดการ ในระดับบุคคลและระดับองค์กร เป็นบัณฑิตมีความรู้ ความสามารถในการประยุกต์ใช้หลักวิชาการเงิน ประกันภัยและการจัดการความเสี่ยง และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง สำหรับการทำงานในธุรกิจประกันภัยอัจฉริยะ มีความสามารถและใฝ่รู้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและสามารถใช้ความรู้พื้นฐานที่นำไปสู่การศึกษาและการพัฒนาความรู้ที่สูงขึ้นทันต่อการเปลี่ยนแปลงของวิทยาการการเงิน ประกันภัยและการจัดการความเสี่ยง เป็นบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม ปรับตัวได้เหมาะสมตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ

อาชีพและความก้าวหน้าในวิชาชีพ

บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาสามารถปฏิบัติงานในหน่วยงานต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย ทั้งสถาบันการเงิน ธนาคาร บริษัทประกันภัย ร่วมถึงหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง โดยมีตำแหน่งงานดังนี้ ผู้พิจารณารับประกันภัย นักวิเคราะห์ค่าสินไหมทดแทน ที่ปรึกษาการวางแผนการเงินและแนะนำการประกันภัย นักวิเคราะห์การเงินและการลงทุน นักพัฒนาผลิตภัณฑ์ ผู้สำรวจภัย เจ้าหน้าที่บริการผู้เอาประกันภัย นักการตลาดประกันภัย เจ้าหน้าที่ตรวจสอบการรับประกันภัย เจ้าหน้าที่บริหารความเสี่ยง นักวิเคราะห์เครดิตด้านสินเชื่อ เจ้าหน้าที่ในฝ่ายงานอื่น ๆ ของบริษัทประกันภัย บริษัทการเงิน และบริษัทที่ประกอบธุรกิจ และสามารถทำงานในหน่วยงานทั้งภาครัฐบาลและเอกชนต่าง ๆ ที่ต้องอาศัยบุคลากรที่มีทักษะความสามารถเฉพาะในด้านการเงิน ประกันภัยและการจัดการความเสี่ยง

7. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ

ชื่อปริญญา : ศิลปศาสตรบัณฑิต (ภาษาอังกฤษธุรกิจ)
อักษรย่อปริญญา (ภาษาไทย): ศศ.บ. (ภาษาอังกฤษธุรกิจ)
อักษรย่อปริญญา (English) : B.A. (Business English)

ผลิตบัณฑิตให้มีความเข้าใจ ความรู้ ความสามารถ และทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและการดำเนินงานทางธุรกิจ มีความพร้อมในการนำทักษะทางภาษาอังกฤษและความรู้ด้านธุรกิจไปประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางธุรกิจในปัจจุบัน มีแนวคิดเชิงบูรณาการ สามารถเรียนรู้ศาสตร์ใหม่ ๆ โดยนำวิทยาการและเทคโนโลยีไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนางานในองค์กรและสังคมส่วนรวม เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมโลก มีทักษะในการใช้ภาษาต่างประเทศนอกเหนือจากภาษาอังกฤษ มีสมรรถนะสากล และสามารถปรับตัวในสังคมพหุวัฒนธรรม เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ

อาชีพและความก้าวหน้าในวิชาชีพ

ผู้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาสามารถปฏิบัติงานในหน่วยงานภาคเอกชน  ภาครัฐ ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงเป็นเจ้าของกิจการหรือประกอบธุรกิจส่วนตัว โดยมีตำแหน่งงานต่างๆ ดังนี้ (1) ภาคเอกชน/ บริษัท ทั้งในและต่างประเทศ งานโรงแรม สายการบิน บริษัทนำเที่ยว หรือ งานสำนักงาน เป็นต้น เช่น เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป (ที่เกี่ยวข้องกับงานโรงแรม สายการบิน บริษัทนำเที่ยว หรือ งานสำนักงาน)  เจ้าหน้าที่แผนกลูกค้าสัมพันธ์  เจ้าหน้าที่การตลาด เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างประเทศ เลขานุการ มัคคุเทศก์ อาจารย์/ครูสอนภาษา (2) ภาครัฐ/ หน่วยงานราชการ ทั้งในและต่างประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ เช่น กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงวัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูต สถานกงศุลประจำประเทศต่าง ๆ สถานศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ท่าอากาศยาน เป็นต้น เช่น เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์  เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เลขานุการ เจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายวีซ่า เจ้าหน้าที่กองตรวจคนเข้าเมือง อาจารย์ /ครูสอนภาษา (3) เจ้าของกิจการ/ธุรกิจส่วนตัว เช่น โรงเรียนสอนภาษา ธุรกิจนำเข้าและส่งออก  รีสอร์ท โรงแรม ร้านอาหาร ศูนย์แนะแนวการศึกษาต่อต่างประเทศ เป็นต้น

8. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการรัฐกิจ

ชื่อปริญญา : รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (การจัดการรัฐกิจ)
อักษรย่อปริญญา (ภาษาไทย): รป.บ. (การจัดการรัฐกิจ)
อักษรย่อปริญญา (English) : B.P.A. (Public Management)

ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจ ความเข้าใจในหลักการของแนวคิดและทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ และการจัดการสมัยใหม่ และตระหนักรู้ในงานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางรัฐประศาสนศาสตร์และนำมาต่อยอดองค์ความรู้ได้อย่างเหมาะสม มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เครื่องมือทางสถิติขั้นพื้นฐาน และมีความสามารถในการสื่อสารเหมาะสมกับประเด็นปัญหาทางรัฐประศาสนศาสตร์ มีความสามารถในการค้นหาข้อเท็จจริงและทำความเข้าใจในปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับรัฐประศาสนศาสตร์จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย สามารถศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์หรือสภาพปัญหาที่ซับซ้อน โดยใช้ความรู้แนวคิดและทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขอย่างสร้างสรรค์ มีความรับผิดชอบในการพัฒนาตนเองและแสดงออกซึ่งภาวะผู้นำและสมาชิกที่ดีของกลุ่ม มีความคิดริเริ่มในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสมกับพื้นฐานของตนเองและบริบทของกลุ่ม มีคุณธรรมจริยธรรม และสามารถปรับตัวได้ในสังคมที่มีความหลากหลายและขัดแย้งทางค่านิยม

อาชีพและความก้าวหน้าในวิชาชีพ

บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาสามารถปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร โดยมีตำแหน่งงานต่าง ๆ ดังนี้ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักบริหารทรัพยากรมนุษย์ นักทรัพยากรบุคคล (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)  นักบริหารงานทั่วไป นักจัดการงานทั่วไป  เจ้าพนักงานปกครอง (ปลัดอำเภอ)  ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักวิชาการพัฒนาชุมชน นักพัฒนาชุมชน (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)  เจ้าหน้าที่บริหารโครงการ นักวิชาการอิสระ เป็นต้น

9. หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการแสดงและการจัดการ

ชื่อปริญญา : ศิลปศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาศิลปะการแสดงและการจัดการ)
อักษรย่อปริญญา (ภาษาไทย): ศศ.บ.(ศิลปะการแสดงและการจัดการ)
อักษรย่อปริญญา (English) : B.A. (Performing Arts and Management)

ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม สร้างสรรค์งานทางด้านศิลปะการแสดงอย่างมีคุณค่าและมูลค่าให้กับสังคมและประเทศชาติ  พัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและสมรรถนะตรงตามความต้องการของ  ตลาดแรงงานในการจัดการแสดงที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาค และนานาชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประชาคมอาเซียนและเขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก ส่งเสริมการยกระดับศิลปะการแสดงของชาติให้ทัดเทียมกับมาตรฐานสากลในแนวทางการ พัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านการพัฒนาคุณภาพบุคลากรและการบริการวิชาการและสังคม  ส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ องค์การระหว่างประเทศ และหน่วยงานภาคเอกชนในการจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการ และการวิจัย

อาชีพและความก้าวหน้าในวิชาชีพ

บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพได้ดังนี้ (1) อาชีพอิสระทางการแสดง  เช่น การเปิดโรงเรียนสอนการแสดง การเปิดโรงละครสำหรับจัดการแสดง การรับจัดงาน Event  (2) งานด้านการศึกษาและการอบรม เช่น ครูอาจารย์ วิทยากรด้านศิลปะการแสดงและการพัฒนาบุคลิกภาพ ฯลฯ  (3) งานด้านศิลปะการแสดง เช่น นักแสดง ผู้กำกับการแสดง ผู้เขียนบท ผู้กำกับเวที ผู้ออกแบบองค์ประกอบต่าง ๆ ในการแสดง ฯลฯ  (4) งานด้านการผลิตและการจัดการการแสดง เช่น โปรดิวเซอร์ ผู้จัดการแสดง  ผู้จัดอีเว้นท์ ผู้จัดการกองถ่าย ฯ

คู่มือ/แผนการศึกษา

คำอธิบายรายวิชา

การรับรองหลักสูตรฯ

5/5